Thursday, February 18, 2016

เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ (มาตรฐาน JIS B 0001 - 1985)

เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบตามมาตรฐาน JIS B 0001 - 1985 ประกอบด้วย ขนาด 0.18 มม., 0.35 มม., 0.5 มม., 0.7 มม., และ 1.0 มม. โดยมีวิธีการกำหนดและการใช้งานดังนี้

1. เส้นเต็มหนา
การใช้งาน
- เส้นขอบรูปที่มองเห็น

2. เส้นเต็มบาง
การใช้งาน
- เส้นให้ขนาด
- เส้นช่วยให้ขนาดและเส้นฉาย
- เส้นนำ (Leader Line)
- เส้นแสดงลายตัด
- แสดงเส้นศูนย์กลางสั้น
- แสดงแนวระดับของเหลว

3. เส้นประบาง
การใช้งาน
- เส้นขอบรูป (แบบเล็ก) ที่มองไม่เห็น

4. เส้นลูกโซ่บาง
การใช้งาน
- เส้นศูนย์กลาง
- เส้นแสดงความสมมาตร (Symmetry)
- เส้นแสดงแนวศูนย์การหมุนของชิ้นส่วน (Trajectory)

5. เส้นลูกโซ่หนา
 การใช้งาน
- แสดงบริเวณผิวหน้าที่ต้องการทำงานพิเศษ เช่น ชุบแข็งบริเวณผิว

6. เส้นลูกโซ่บางสองจุด
การใช้งาน
- แสดงเส้นรูปร่างชิ้นงานที่อยู่ติดหรือถัดไป
- แสดงเส้นเครื่องมือที่ทำงานต่อชิ้นงาน
- แสดงเส้นตำแหน่งรูปร่างที่ชิ้นงานเคลื่อนที่ไปได้, เส้นแสดงแนว Centroid, เส้นแสดงรูปร่างชิ้นงานก่อนขึ้นรูป

7. เส้นมือเปล่า, เส้นซิกแซก
การใช้งาน
- เส้นแสดงการจำกัดรูปและการตัด
- แสดงรอยตัดย่นของระยะรูป

8. เส้นลูกโซ่หักมุม
การใช้งาน
- เส้นแสดงแนวตัด

Sunday, August 30, 2015

ขนาดกระดาษมาตรฐาน

ในงานเขียนแบบเครื่องกลกระดาษที่เราใช้เกือบทั้งหมดจะใช้มาตรฐานชนิด "A"  โดยอ้างอิงตามาตรฐานสากล ISO216 หรือมาตรฐานเยอรมัน DIN476 มีดังนี้


ขนาด A4 210 x 297 mm.
ขนาด A3  297 x 420 mm.
ขนาด A2 420 x 594 mm.
ขนาด A1 594 x 841 mm.
ขนาด A0 841 x 1189 mm.




















ขนาดที่กำหนดด้านบนจะเป็นแนวตั้งหน่วยเป็นมิลลลิเมตร (mm) ส่วนหากต้องการเปลี่ยนเป้นหน่วยนิ้ว (inch) ก็ให้หารด้วย 25.4 ครับ (1 นิ้ว = 25.4 mm.)

ควรเลือกใช้ขนาดกระดาษที่เหมาะสมกับงานไม่เล็กหรือไม่ใหญ่เกินไป หากเล็กไปก็จะไม่สามารถใส่รายละเอียดได้ครบถึงจะครบจะมีมาตราส่วนที่เล็กทำให้มองเห็นได้ชัดเจน หากขนาดกระดาษใหญ่เกินไปก็จะได้รูปชิ้นงานภายในที่เล็กทำให้มองไม่ชัดเจนนอกจากนี้ยังเกิดความสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น อีกทั้งกระดาษาขนาดใหญ่ยังยากในการจัดเก็บและบำรุงรักษาอีกด้วย

//====================================//

เปิดตัว Blog

งานเขียนแบบเครื่องกลึงมีความจำเป็นอย่างมากในวงการอุตสาหกรรม จะเห็นว่าในสถาบันการศึกษาทางด้านเทคนิคและวิศวกรรมได้บรรจุหลักสูตรการเขียนแบบเครื่องกลหรือเขียนแบบวิศวกรรมลงไป ไม่ว่าจะเรียนสาขาอะไรก็ตาม. ดังนั้นผู้จัดทำ Blog "เขียนแบบเครื่องกล" ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้มามากกว่า 10 ปี จึงได้มีแนวคิดที่จะสรรหา รวบรวม ปรุงแต่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนแบบเครื่องกล เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้และเข้าไป โดยจะเน้นการนำเสนอไปแบบเรียบง่าย อาจจะไม่หรือหวามากนัก แต่รับรองว่าเข้าใจแน่นอนครับ หากมีข้อติแนะประการใดก็โปรดแนะนำเข้ามาได้ครับ

ผู้จัดทำ